จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ก.พ. เวลาประมาณ 4 โมงเย็น ผู้ใช้เครือข่าย Truemove H ทั่วประเทศ ไม่สามารถใช้บริการเครือข่ายได้ ทั้งบริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ ล่าสุด วันที่ 20 ก.พ. นายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกเสียใจ และขออภัยผู้ใช้บริการเป็นอย่างสูงในเหตุขัดข้องของระบบเครือข่ายที่เกิดขึ้นชั่วคราวในบางพื้นที่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 โดยหลังจากที่บริษัทฯได้เข้าพบและชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต่อกสทช. และมีข้อสรุปร่วมกันให้บริษัทฯชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์นี้
ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าทุกรายเป็นอย่างยิ่ง
และเข้าใจถึงผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้น จึงพิจารณาชดเชยให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ได้รับสิทธิโทรฟรี 100 นาทีทุกเครือข่าย และใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี จำนวน 500 MB นานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะทยอยส่งข้อความ SMS แจ้งลูกค้าในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งลูกค้าทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือนสามารถรับสิทธิได้โดยกด *588 # แล้วกดโทรออก (ฟรี) ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 และสามารถใช้สิทธิได้ทันทีเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังกดรับสิทธิผ่านมือถือที่ลูกค้าใช้บริการ
เวลาประมาณ 4 โมงเย็น ผู้ใช้เครือข่าย Truemove H ทั่วประเทศ ไม่สามารถใช้บริการเครือข่ายได้ ทั้งบริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ หลายคนต่างก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จนทำให้เกิดแฮชแท็ก #truemoveH #ทรูล่ม ขึ้นในทวิตเตอร์อย่างรวดเร็ว
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งที่ใช้บริการทรูมูฟได้ออกมารายงานความคืบหน้าว่า 16.00น. ขณะนี้เครือข่าย #TRUE-H ล่มทั้งประเทศ 4G/3G ไม่สามารถใช้งานได้ครับ ขึ้น Emergency Call เครือข่าย 52004 ทั้ง 1800/2100/900 หายไปจากการค้นหา เเต่ 3G 850Mhz ยังอยู่เเต่จับใช้ไม่ได้ครับ
กลับมาเเล้ว 16.22น. ขณะนี้เครือข่าย #TRUE-H กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้วครับ สรุปสัญญาณหายไป 20 นาทีกว่าๆเลยครับ
16.31น. ขณะนี้เครือข่าย #TRUE-H กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้วเล่นเน็ต4G/3G ได้แต่โทรออกรับสายไม่ได้ครับ สายจะตัด
16.50น. ขณะนี้เครือข่าย #TRUE-H กลับมาใช้งานโทรออกรับสายได้ปกติแล้วครับ หลังจากที่สัญญาณกลับมาเเล้วเล่นเน็ตได้อย่างเดียว
ประมูล 5G เงินประมูลทะลุ 100,521 ล้านบาท AIS คว้ามากสุด
ประมูล 5G – กสทช รายงาน 16 ก.พ. 2563 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้จัดการประมูลคลื่นความถี่ ในย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล 5 ราย ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ซึ่งการประมูลได้เริ่มต้นในเวลา 09.30 น. และเสร็จสิ้นลงในเวลา 15.05 น. ใช้เวลาประมูลรวมทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง 35 นาที
สำหรับผลการประมูลรวม 3 คลื่นความถี่ รวมเป็นเงินประมูลทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท
แบ่งเป็น คลื่นความถี่ 700 MHz เงินประมูลรวม 51,460 ล้านบาท คลื่นความถี่ 2600 MHz เงินประมูลรวม 37,434 ล้านบาท และคลื่นความถี่ 26 GHz เงินประมูลรวม 11,627 ล้านบาท
ผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2×5 MHz ผลปรากฏว่ามีผู้ประมูลหมดทั้ง 3 ใบอนุญาต ได้แก่ CAT ได้ 2 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 34,306 ล้านบาท และ AWN ได้ 1 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 17,154 ล้านบาท
ผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz
ผลปรากฏว่ามีผู้ประมูลหมดทั้ง 19 ใบอนุญาต ได้แก่ AWN ได้ 10 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 19,561 ล้านบาท และ TUC ได้ 9 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 17,873 ล้านบาท
ผลการประมูลความถี่ย่าน 26 GHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 MHz แต่มีการประมูลออก 26 ใบอนุญาต ได้แก่ AWN ได้ 12 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 5,345 ล้านบาท TUC ได้ 8 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 3,577 ล้านบาท ทีโอที ได้ 4 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 1,795 ล้านบาท และ DTN ได้ 2 ชุดคลื่นความถี่ เงินประมูลรวม 910 ล้านบาท
ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับประเทศไทยที่จะก้าวเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ซึ่งจะนำไทยก้าวล้ำนำอาเซียน
และสำนักงาน กสทช. พร้อมสนับสนุนทุกภาคส่วนเต็มที่ โดยเชื่อว่าเทคโนโลยี 5G จะช่วยขับเคลื่อนภาคการผลิต และภาคบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศได้ โดยในวันที่ 19 ก.พ. นี้ จะมีการประชุม กสทช. วาระพิเศษเพื่อรับรองผลการประมูลในครั้งนี้ต่อไป
มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 2.40 – 2.50 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.84 – 5.04 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการการใช้มันสำปะหลังในประเทศและส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น
แนะนำ : ดูดวงไพ่ยิปซี | รีวิวที่พัก | รีวิวคาเฟ่ | วิธีลดน้ำหนัก | รีวิวอนิเมะ ญี่ปุ่น